วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใบงานที่ 4 ใบความรู้ Blogger

ใบงานที่ 3 ข้อสอบ O-net 53

ข้อสอบ O-netภาษาไทย'53  
 
ข้อสอบ O-netคณิตศาสตร์'53  

ข้อสอบ O-netวิทยาศาสตร์'53  

ข้อสอบ O-netสังคม'53
  

ข้อสอบ O-netภาษาอังกฤษ'53  

ข้อสอบ O-netสุขศึกษา ศิลปะ การงาน'53  

เฉลยข้อสอบ O-net'53
 



วิดีโอเฉลยข้อสอบ O-net เรื่องเซต

Credit :
ข้อสอบ : http://www.dek-d.com/content/admissions/31452/
วิดีโอ : http://youtu.be/l9vI9hqM0VA

ใบงานที่ 2 ปู


ปู  (Crab)


ปู (Crab) เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา (Brachyura) มีลักษณะสิบขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งน้ำจืดและทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบนบก

ปูจะมีกระดองซึ่งเป็นแคลเซียมแข็ง มีลักษณะสมมาตร แอบโดเมนพับลงไปอยู่ใต้กระดอง ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอันดับฐานนี้ มีก้าม ใหญ่ 1 คู่ มีขาเดิน 4 คู่ แตกออกเป็นรัศมีไปทางด้านข้างลำตัว หนวดคู่ที่ 2 อยู่ระหว่างตา ส่วนหาง ไม่มีหน้าที่ชัดเจน และไม่มีแพนหาง

ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ 

ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย 

ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะจัดอยู่ในอันดับฐานปูปลอม (Anomura)

ปัจจุบันปูได้รับการจำแนกไว้แล้วว่า 6,000 ชนิด ส่วนใหญ่พบในแถบอินโด-แปซิฟิก ในประเทศไทยพบแล้วรวม 824 ชนิด

เช่น

ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว (Fiddler crab, Ghost crab) เป็นปูทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Uca ในวงศ์ Ocypodidae





ลักษณะ

มีลักษณะโดยรวมคือ กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีก้านตายาว กระดองมีสัสันสวยงามต่าง ๆ ตัวผู้มีลักษณะเด่นอันเป็นที่มาของชื่อเรียก คือ มีก้ามข้างใดข้างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดใหญ่กว่าอีกข้างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะใช้ก้ามข้างนี้ในการโบกไปมาเพื่อขู่ศัตรูและเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย อีกทั้งยังใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กันอีกด้วย ขณะที่ปูตัวเมียก้ามทั้ง 2 ข้างจะเล็กเท่ากัน

ถิ่นที่อยู่

ปูก้ามดาบอาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือหาดทรายริมทะเล พบได้ทั่วไปในเขตแอฟริกาตะวันตก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก และอินโด-แปซิฟิก โดยใช้ก้ามข้างเล็กนั้นคีบหาอาหารและป้อนอาหารเข้าปาก อาศัยโดยการขุดรูอยู่ ต่อเมื่อน้ำลงก็จะออกมาหาอาหาร โดยเวลาจะลงรูจะใช้ข้างที่เล็กกว่าลงก่อน ซึ่งก้ามข้างที่ใหญ่ขึ้น เมื่อขาดไป ข้างที่เล็กกว่าจะใหญ่ขึ้นมาแทน และข้างที่เคยใหญ่ขึ้นอาจงอกมาเป็นเล็กกว่าหรือสลับกันไปก็ได้

ปูก้ามดาบ เป็นปูขนาดเล็กที่ไม่ใช้บริโภคกันเหมือนปูทะเลชนิดอื่น แต่ด้วยความที่มีสีสันสวยงาม และรูปลักษณ์ที่แปลก จึงนิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง

ปูก้ามดาบเวลาผสมพันธุ์ ตัวเมียอาจเลือกตัวผู้เป็นร้อยตัว เมื่อจับคู่ได้แล้ว ตัวผู้จะเป็นฝ่ายนำตัวเมียลงไปผสมพันธุ์ในรู และตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลตัวเมียและไข่ที่บริเวณปากรู รอจนกว่าให้ตัวเมียฟักไข่จนออกมาเป็นตัวสมบูรณ์

สำหรับในประเทศไทยพบปูก้ามดาบทั้งได้หมด 11 ชนิด ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จากทั้งหมดประมาณ 100 ชนิด ใน 9 สกุลย่อย ที่พบได้ทั่วโลกเช่น ปูก้ามดาบก้ามยาว (Uca spingata) และปูก้ามดาบก้ามขาว (U. perplexa) เป็นต้น


              ปูจั๊กจั่น (Ranina vanima) เป็นปูในวงศ์ Raninidae ถิ่นที่อยู่ตั้งแต่หมู่เกาะฮาวาย, ญี่ปุ่น,ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, ไทย จนไปถึงหมู่เกาะอินโดนีเซีย และ แอฟริกาตะวันออก จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ranina


ลักษณะทั่วไป

มีกระดองทรงรีรูปไข่กว้างทางด้านข้างขอบกระดอง ด้านหน้ามีหนามแหลม เป็นกลุ่มจำนวน 7 กลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน ด้าน บนมีหนามแหลมแข็งขนาดเล็ก ปลายหนามชี้ไปทางส่วนหัว ปกคลุมทั่วไป มีก้านตายาว และตั้งขึ้นสามารถพับเก็บลงในร่องทางด้านหน้าไต้กระดองตากระเปาะทรงรีอยู่ปลายก้านตา มีหนวด 2 คู่ ขนาดเล็กสั้นหนวดข้างหนึ่งแยก 2 เส้น ส่วนอีกคู่หนึ่งมีฐานเป็นแผ่นแข็งมีขนขึ้นโดยรอบ ระยางค์ปากมีขนาดใหญ่แข็งแรง มีก้ามหนีบขนาดใหญ่ ปลายก้ามหันเข้าหากัน ฟันในส่วน ของก้ามหนีบด้านละ 6-7 อัน มีขาเดิน 4 คู่ สองคู่แรก มีปลายคล้ายใบหอก ส่วนสองคู่หลัง ปลายแบนคล้ายพาย ลักษณะลำตัวเป็นปล้อง 6 ปล้อง ขนาดเล็กต่อจากปลายกระดองม้วนด้านล่าง ปล้องสุดท้ายมีแพนหางรูปสามเหลี่ยม ตอนท้ายมีขาว่ายน้ำ 1 คู่ ลำตัวด้านล่างมีสันนูน (เพศเมียจะเห็นได้ชัดเจน) มีขาสีน้ำตาลค่อน ข้างรอบขอบกระดอง เพศผู้จะเห็นชัดเจนลำตัวกับขาเดิน มีสีส้มอมแดงหรือน้ำตาล ส่วนท้องมีสีขาวขอบกระดอง หน้าและหลังมีสีขาวเช่นเดียวกัน ตามีหลายสี เช่น ดำ, เหลือง หรือน้ำตาล

มีความยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร (ตัวผู้ประมาณ 7-14 เซนติเมตร ตัวเมียประมาณ 5-8 เซนติเมตร)

พบตามชายฝั่งที่เป็นโขดหิน แหล่งที่อยู่อาศัยชอบหมกตัวกับพื้นที่เป็นทรายรอบกองหินหรือแนวหินใต้น้ำระดับน้ำลึกประมาณ 60 เมตร กินอาหารที่เป็นซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
เป็นปูที่นิยมใช้รับประทานเป็นอาหาร

  

ปูลม หรือ ปูผี (Ghost crab) เป็นปูทะเลขนาดเล็กในสกุล Ocypode อยู่ในวงศ์ Ocypodidae อันเป็นวงศ์เดียวกันกับปูก้ามดาบด้วย


 


ปูลมมักถูกจำสับสนกับปูทหาร ซึ่งอยู่ในสกุล Mictyris ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ปูลมจะมีลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก และมีกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่เหมือนปูทหารที่เป็นวงกลม และมีก้านตายาว ซ้ำยังมีพฤติกรรมการหากินที่ต่างกันออกไป กล่าวคือ ปูลมจะไม่ปั้นทรายเป็นก้อนเหมือนปูทหาร แต่จะใช้ก้ามคีบอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์ และอินทรีย์สารต่าง ๆ เข้าปาก และมักจะทำรูอยู่ในป่าชายเลนที่เป็นเลนมากกว่า แต่ก็มีพบบ้างที่บริเวณหาดทราย

ปูลมได้ชื่อว่าในภาษาไทยเนื่องจากเป็นปูที่วิ่งได้เร็วมาก และส่วนชื่อปูผีในภาษาอังกฤษ มาจากพฤติกรรมการหากินที่มักหากินในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากภาษากรีกคำว่า ocy หมายถึง "เร็ว" และคำว่า ποδός หมายถึง "เท้า" รวมความแล้วหมายถึงสัตว์ที่วิ่งเร็ว

ปูลมพบทั้งหมด 28 ชนิด  โดยชนิดที่พบได้ในประเทศไทยได้แก่ ปูลมใหญ่ (Ocypode ceratophthalmus) และปูลมเล็ก (O. macrocera) ซึ่งมีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวันด้วย
 


Credit by 
th.wikipedia.org/wiki/ปู‎
th.wikipedia.org/wiki/ปูจั๊กจั่น‎
th.wikipedia.org/wiki/ปูลม‎
http://www.youtube.com/watch?v=6jNeZW8wmOY&feature=youtu.be